ในระยะเวลาที่ผ่านมาการพัฒนาประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติมโตอย่างรวดเร็ว มุ่งสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ที่นำไปสู่ภาวะความทันสมัย ประกอบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโครงสร้างทางสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในด้านวิถีชีวิตของคน จากวิถีชีวิตสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม อีกทั้งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนอิทธิพลของสื่อและการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาโดยขาดการเลือกสรรคัดกรอง รวมทั้งการใช้ชีวิตรักสนุก สะดวกสบาย เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพหลายๆด้าน ถ้าหันกลับมามองวิถีชีวิตพอเพียง น่าจะเป็นช่องทางที่มุ่งหวังให้ประชาชนคนไทยมีวิถีชีวิตที่มีความสุขยั่งยืน นำไปสู่สุขภาวะที่ดีขึ้น รวมทั้งมีความรอบรู้ ทัศนคติ ค่านิยมที่ใฝ่ดี ที่ทำให้มีเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี แล้วนำไปสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
จากกระแสหลักของการพัฒนาที่นำไปสู่ภาวะความทันสมัย ในกระแสโลกาภิวัตน์ ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ขาดความสมดุล กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialization) และการเป็นเมือง (Urbanization) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตที่กำหนดแบบแผนการดำเนินชีวิตแบบบริโภคนิยม วัตถุนิยม ที่ให้ความสำคัญแก่วัตถุมากกว่าจิตใจ คือ มีความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ยึดถือวัตถุมากกว่าจิตใจหรือคุณค่าของความเป็นคน ที่มิได้ทำให้คนในสังคมมีวิถีชีวิตที่เป็นสุข กลับนำไปสู่การบั่นทอนสุขภาพทั้งทางกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณอย่างมาก โดยละเลยกับสุขภาพมุ่งแสวงหาความสนุกสนานทางวัตถุและความสะดวกสบาย อีกทั้งเมื่อโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนไปทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยน เช่น การทำมาหากินที่จำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการแก่งแย่งกันในอาชีพการงานและรายได้ทำให้เกิดความเครียด ปัญหาสุรา ยาเสพติด อาชญากรรม ฆ่าตัวตาย การเอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งอิทธิพลทางลบของสื่อมวลชนและการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาโดยขาดการเลือกสรรคัดกรอง เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพตามมา เช่นเดียวกับศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ (2547) กล่าวว่า ภาวะความเป็นเมืองหรือภาวะความทันสมัยไม่ได้มีผลต่อประชากรในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อรูปแบบทางสังคมอื่นๆ ด้วย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ในด้านค่านิยม รูปแบบการประกอบอาชีพ และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ ความเร่งรีบ ความเครียดจากการทำงาน ค่านิยมตะวันตก และลักษณะอาชีพที่ไม่ต้องใช้แรง ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การดูดซับวัฒนธรรม (Cultural assimilation) Sen (2000) กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ว่า “...ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับ อำนาจคุกคามของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบตะวันตก ที่จะฝังกลบวิถีการดำรงชีวิต (Models of living) และ ขนบธรรมเนียมทางสังคม (Social norms) แบบดั้งเดิม” แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีอิทธิพลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางการดำเนินชีวิตได้ดังนี้คือ
วิถีชีวิตครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป จากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และภายในครอบครัวเดี่ยวยังพบว่ามีลักษณะแตกต่างย่อยลงไปอีก เช่น ครอบครัวเดี่ยวที่พ่อแม่อาจไม่ได้อยู่ร่วมกับลูกด้วยปัจจัยต่างๆทางสังคม เช่น เข้ามาใช้แรงงานในเมือง เด็กถูกทอดทิ้งกับตายายหรือญาติทำให้เด็กเกิดความว้าเหว่เกิดปัญหาทางจิตเด็ก หรืออาจถูกคนใกล้ชิดข่มขืน ส่วนครอบครัวแตกแยกที่พ่อไปทางแม่ไปทาง ตลอดจนพบว่าแนวโน้มในสังคมไทยกำลังมีครอบครัวแบบนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นความสัมพันธ์ของครอบครัวที่ต่างคนต่างอยู่ มีความผูกพันกันในครอบครัวน้อยลงไม่มีเวลาให้แก่กันละกันเพราะมัวแต่หาเงินเป็นตัวตั้งจึงเกิดปัญหาครอบครัว บางครอบครัวพ่อแม่ไปคนละทางต่างไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่นนอกบ้านนำไปสู่ครอบครัวแตกสลาย ลูกที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่กับพี่เลี้ยงในบ้านอยู่แล้ว กลับถูกตอกซ้ำกับปัญหาครอบครัว ทำให้เด็กขาดความอบอุ่นไม่มีที่พึงพิงทางจิตใจนำไปสู่ การติดยาเสพติด อาชญากรรม การสำส่อนทางเพศ การติดเชื้อเอดส์และการฆ่าตัวตายในที่สุด อีกทั้งการอยู่ร่วมกันในฐานะเป็นสามีภรรยาอย่างไม่ถูกต้องมีมากขึ้นทั้งในวัยเรียนและวัยแรงงานก่อให้เกิดการท้องก่อนแต่ง แล้วนำไปสู่การทำแท้ง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจถึงชีวิตได้หรืออาจติดคุกในระหว่างการทำแท้งอยู่ แต่ถ้ามีการดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปอาจจะส่งผลกระทบทั้งตัวแม่และเด็กเองที่ไม่ได้ถูกยอมรับจากสังคมนำไปสู่ปัญหาปัญหาสุขภาพจิต เด็กถูกทอดทิ้งและการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด โดยเฉพาะการล้มสลายของสถาบันครอบครัวก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมอื่นๆอีกมากมาย ฉะนั้นระบบอุปถัมภ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นคุณค่าที่สร้างสรรค์ปลูกฝังความสัมพันธ์ฉันญาติมิตรที่คนมีความสัมพันธ์กัน ช่วยเหลือเกื้อกูล พึงพาอาศัยมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกันได้แปรเปลี่ยนไปเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจและเงินตราที่ทำให้คนมีแต่เห็นแก่ตัวเอาเปรียบซึ่งกันและกัน นับถือเงินตรามากกว่าจิตใจนำไปสู่ปัญหาความเครียด อาชญากรรมและฆ่าตัวตาย วิถีชีวิตการรับประทานอาหาร สังคมยุคใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อ ภาวะสุขภาพ (Health status) ดังเช่นที่ Nelson (1956) อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน,2545) สรุปความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตามกระแสตะวันตกว่ามีผลต่อภาวะสุขภาพ ดังนั้นกระแสโลกาภิวัตน์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากวิถีชีวิตการกินได้เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมเดิม โดยกำหนดแบบแผนการบริโภคแก่ผู้คนจำนวนมาก ทำให้ผู้คนในสังคมมีวิสัยทัศน์ในการดำรงชีพรูปแบบเดียวกันไปหมด ได้แก่ การดำเนินชีวิตภายใต้ความต้องการและรสนิยมที่ถูกสังคมอุตสาหกรรมเป็นตัวชี้นำกำหนดเท่านั้นโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อ พฤติกรรมการบริโภคอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้โดยผ่านสื่อต่างๆ มีการโหมโฆษณารณรงค์เพื่อขายและมีการกินตามกระแสสังคม เช่น อาหารฟาสต์ฟูดในประเทศไทย ทุกวันนี้จะสังเกตเห็นว่า คนไทยพยายามที่จะพัฒนาระบบคุณค่าและรูปแบบการบริโภคตามกระแสของผู้คนทั่วโลกที่มีวัฒนธรรมแตกต่างออกไป ทุกแห่งจะมีร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟูดเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ เช่น McDonald’s, Pizza Hut, Daidomon อยู่มากมาย และแม้ว่าร้านอาหารฟาสต์ฟูดจะตั้งอยู่บริเวณที่ไม่ใช่ย่านนักท่องเที่ยวก็ตาม จะพบว่าในร้านเต็มไปด้วยลูกค้าที่เป็นคนไทย โดยเฉพาะวัยรุ่น การบริโภคอาหารฟาสต์ฟูด เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารน้อย นำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนและโคเรสเตอร์รอล (Cholesterol)ในเลือดสูง ประกอบกับระบบสื่อสารและการโฆษณา มีการสื่อสารที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด หรือเป็นการสร้างเอกลักษณ์โดยการเบนประเด็นออกจากคุณค่าทางโภชนาการทำให้การบริโภคที่ไม่เป็นไปตามสุขโภชนาการมีเพิ่มขึ้น การโฆษณาอาหารไม่ใช่สิ่งที่ “ตรงไปตรงมา” เช่นการโฆษณาน้ำผลไม้กระป๋องชนิดหนึ่งที่ให้มดแดงแบกผลไม้สดไปทิ้งและหันมาดื่มผลไม้กระป๋อง หรือเป็นการโฆษณาที่จูงใจวัยรุ่น เช่น คนยุคใหม่ต้องดื่ม... ซิ หรือผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ทำให้วัยรุ่นสับสน และหลงกลการโฆษณา นอกจากนี้ กนกศักดิ์ แก้วเทพ (2546) ได้กล่าวถึงอิทธิพลของ สื่อสารมวลชน ว่าสื่อยังกำหนดจิตสำนึกของคนในสังคมได้ หรือ การครอบงำทางวัฒนธรรม (Cultural domination) หรือ การครอบงำความคิด (Hegemony) นั่นเอง การดูโทรทัศน์ จะทำให้คนมีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลง ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่ใช้แรง (Physical activities) ต่างๆ และทำให้เกิดความอ้วนได้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (อ้างโดย ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ ประเทศไทย) พบว่า เด็กที่ดูโทรทัศน์มากเกินไปจะรับประทานผักน้อยลง โดยทำการศึกษาพฤติกรรมของเด็กอเมริกัน พบว่า ถ้าเด็กใช้เวลาในการดูโทรทัศน์เพิ่มขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง เขาก็จะรับประทานผักน้อยลงไปอีก โดยให้เหตุผลว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เด็กเหล่านั้นจะได้รับอิทธิพลจากการโฆษณา ที่ชักจูงให้รับประทาน “อาหารขยะ” (Junk food) มากขึ้น รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ที่มากขึ้นอีกด้วยซึ่งเป็นผลของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การโฆษณาสินค้าและการสื่อสารสามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด (Misled) ตัวอย่างเช่น การเสนอภาพของเด็กสาวหุ่นดีกำลังกินช็อกโกแลต กลยุทธ์ของการโฆษณาส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของการจ้างนักร้อง นักแสดงและนักกีฬา หรือ บุคคลที่มีชื่อเสียงด้านอื่นๆ มาทำการโฆษณา ซึ่งจะมีผลอย่างมาก ดังเช่นBerlau ( 2002 อ้างจากศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ) กล่าวว่า “อาหารขยะ” อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และ อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ จะยังคงเป็นข้อถกเถียง (Controversial) กระแสดังกล่าวถูกคาดการณ์ว่าจะดำเนินต่อไป และอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนลามไปถึงสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภคขาดการออกกำลังกาย เช่น โทรทัศน์ด้วย ดังนั้นประเทศสหรัฐอเมริกากำลังจะดำเนินการจัดเก็บภาษีจากน้ำอัดลม (Soft drinks) ขนมขบเคี้ยว (Snack food) ลูกกวาด และหมากฝรั่ง รวมทั้งมีการยื่นข้อเสนอในรัฐแคลิฟอเนียร์ให้รัฐทำการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) ในการเก็บภาษีจาก “อาหารขยะ” (Junk food) เพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำหรับบริการสุขภาพและทันตสุขภาพเด็ก เพราะอาหารพวกนี้นอกจากมีไขมันสูงทำให้อ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจแล้วยังมีผลต่อกระดูก และฟันด้วย ในด้านหนึ่ง พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากวิถีชีวิตแบบเดิม ทำให้ลักษณะของความต้องการอาหารเปลี่ยนแปลงไป ชีวิตประจำวันของคนสมัยใหม่เร่งรีบที่ต้องออกจากบ้านไปทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ กว่าจะกลับถึงบ้านก็เย็นค่ำ ผู้คนต่างมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เมื่อกลับบ้านก็ต้องการประหยัดเวลาไว้เพื่อการพักผ่อน จึงทำให้เกิดการใช้เวลาในการปรุงและรับประทานอาหารน้อยลง ความเร่งรีบมีผลต่อไปยังพฤติกรรมการบริโภค กล่าวคือ อาหารที่รับประทาน ต้องมีการปรุง หรือตระเตรียม (Preparation) อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาในการรับประทานน้อย เพื่อให้ประหยัดเวลาที่สุด เป็นโอกาสให้ “อาหารจานด่วน” (Fast foods) แบบตะวันตก เช่น แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) แซนด์วิช (Sandwich)หรือ ฮ็อทดอก (Hotdog) พิซซ่าแม้กระทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเข้ามาเป็นทางเลือกในการรับประทานในชีวิตประจำวัน รวมทั้งกระแสการบริโภคนิยมที่นิยมอาหารแบบอาหารจานด่วน (fast food) มีเพิ่มมากขึ้น อาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่า เช่นอาหารถุงที่ปรุงขึ้นโดยแม่ค้าที่ไม่มีคุณภาพทั้งวัตถุดิบและสารปรุงแต่ง อาหารจำพวกไขมันสูง ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารน้อย กินแล้วก่อให้เกิดโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพตามมา รวมทั้งไก่ทอด KFC ที่ใช้ความร้อนสูงในการปรุงที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็ง สง่า ดามาพงษ์ (2550) กล่าวว่า “พฤติกรรมการกินที่กลายเป็นแฟชั่นและความทันสมัย การกินอาหารไทย ถือว่า เป็นวิถีชีวิตของคนไทย เป็นวัฒนธรรมของชาติ พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไปยึดว่า อาหารตะวันตกทันสมัย ทำให้ความรู้สึกความภาคภูมิใจในชาติลดลง ไม่ยอมกินน้ำพริก ปลาทู เพราะจะถูกมองว่า ไม่ทันสมัย” ซึ่งกลายมาเป็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง อาทิ การกินผักน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากการการกินฟาสต์ฟู้ดที่มีผักน้อย มีการกินแป้งแทนข้าวมากขึ้น อาทิ ขนมปัง บะหมี่ อาหารเหล่านี้ทำมาจากข้าวสาลี ซึ่งเราผลิตเองไม่ได้ต้องนำเข้ามา
ในอีกด้านหนึ่ง กระแสโลกาภิวัตน์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมบริโภค นับตั้งแต่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เป็นต้นมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงสร้างเศรษฐกิจ นั่นคือ การนำเข้าสู่ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม ภายใต้ระบบทุนนิยมแบบตลาดซึ่งในปัจจุบันทำให้อุตสาหกรรมอาหาร การค้า และบริการ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2541) ทำให้อาหารปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เติบโตตามไปด้วย มีผลกระทบอย่างมากในด้านสุขภาพ เช่น ภาวะการบริโภคอาหารที่เป็นไปในทางที่มากเกินความจำเป็น อันได้แก่ การบริโภค ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และ เกลือ รวมถึง การได้รับสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น สารปรุงแต่งสี ปรุงแต่งรส น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว และ อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ประกอบกับผู้บริโภคในสังคมเมืองมักมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น กินจุบจิบ กินอาหารรสจัด และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย ในกรณีของประเทศไทย สามารถคาดการณ์ได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ประชากรจะหันมารับประทานอาหารจานด่วนซึ่งมีราคาแพงกว่าอาหารข้างทาง และทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคในที่สุด เกื้อ วงศ์บุญสิน (2545) กล่าวว่า การรับประทานอาหารนอกบ้านกำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพักผ่อนในสังคมไทย และกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันในครัวเรือนหรือเปิดโอกาสในการสังสรรค์ (ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือร้านอาหารญี่ปุ่น)สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ Kurz (1997 อ้างใน ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ ,2547) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงการบริโภคของคนไทย ที่หันมารับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น ถึงแม้ปัจจุบันได้มีการประยุกต์อาหารไทยดั้งเดิมให้มาเป็นอาหารจานด่วนแบบไทยที่พบได้ตามสวนอาหาร (Food court) ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะใช้เวลาในการรับประทานน้อย และไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมและปรุงอาหารเอง รวมทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารจานด่วนแบบตะวันตก (สง่า ดามาพงษ์, 2547) แต่อาหารพวกนี้ก็จะมีสารปรุงแต่งจำนวนมากโดยเฉพาะ ผงชูรสและสารกันบูดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ วัฒนธรรมตะวันตกนี้ยังทำให้พฤติกรรมการเลือกรับประทานของประชากรในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ อาหารจานด่วนแบบตะวันตกเข้ามาเป็นตัวเลือกหนึ่งแทนที่อาหารท้องถิ่นแบบดั้งเดิม (Traditional food) (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2547) เดิมการรับประทานอาหารของไทยเป็นการทานอาหารที่ปรุงขึ้นเอง มีความสดใหม่ และอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรจำนวนมาก ทำให้ชีวิตคนไทยสมัยก่อนมีสุขภาพที่ยั่งยืน
วิถีชีวิตการทำงาน กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้คนหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่อง ค้าขาย ขาดทุนกำไรทางวัตถุเงินตราเป็นใหญ่ คนทำงานหามรุ่งหามค่ำโดยไม่มีวันพักผ่อน ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในกระแสสังคมปัจจุบันกระตุ้นให้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการหาเงินหารายได้ โดยไม่ตระหนักถึงสุขภาพ (จรัส สุวรรณเวลา ,2546) ประกอบกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่ในปัจจุบันกลับถูกออกแบบเพื่อการควบคุม เพิ่มพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานเดียว ให้รางวัลกับการทำตามระเบียบกติกาอย่างเคร่งครัด จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก เมื่อผนวกเข้ากับโครงสร้างการทำงานและการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบนี้ ยิ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการประสานกิจกรรมระหว่างกัน นำไปสู่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ตัวใครตัวมันเอาเปรียบกันไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนแต่ก่อนที่สังคมมีความรักความสามัคคีกัน สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ปัญหาความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตตามมา ส่วนการเข้าสู่ภาวะการทำงาน นั่งโต๊ะ (Sedentary activities) หรือ พนักงานบริษัท (ที่เรียกว่า White-collar worker) มีมากขึ้น จากสถิติพบว่า สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นมากในเขตเมือง เมื่อเทียบกับระดับประเทศ แนวโน้มของกลุ่มบุคคลวัยทำงานที่อยู่ในเมืองใหญ่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดมากขึ้น และกลุ่มอาชีพผู้บริหารมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด จากระบบการทำงานประกอบกับจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 จึงส่งผลให้เกิดความเครียดปัญหาโรคจิตโรคประสาท การฆ่าตัวตาย และอาชญากรรม และอาจนำไปสู่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กันมากขึ้นจึงน่าจะเป็นไปในทิศทางที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพในที่สุด เช่นการดื่มสุรานำไปสู่อุบัติเหตุ การทารุณกรรมทางเพศ ซึ่งนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพตามมา รวมทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมา จากสถิติพบว่า สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดขึ้นมากในเขตเมือง โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารหรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง ที่มีกิจวัตรประจำวันที่ไม่ต้องใช้พลังมาก ความสามารถในการบริโภคสูงประกอบกับไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เบาหวาน และ ความอ้วน มากกว่าชนชั้นกลาง สอดคล้องกับ รายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2544 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็ยังยืนยันให้เห็นว่า กลุ่มอาชีพ “ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ และ นักบริหาร” เป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายในด้านอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุด (เครื่องดื่มที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์) รวมทั้ง น้ำตาลและขนมหวานและอาหารที่มีไขมันสูงที่สุดอีกด้วย

วิถีชีวิตการทำมาหากิน ระบบทุนนิยมมุ่งส่งเสริมให้ผลิตเพื่อขาย เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรมากๆ ทำให้การผลิตเป็นไปเพื่อการค้า มากกว่าการผลิตแบบยังชีพแบบดั้งเดิมของไทย การปลูกเพื่อการค้าปลูกพืชชนิดเดียวใช้สารเคมีช่วยในการเร่งการผลิต ต้องใช้เงินลงทุนและเงินหมุนเวียนจำนวนมาก เมื่อผลิตออกมาก็แย่งกันขาย แข่งกันผลิตจนเกิดภาวะล้นเกินกลายเป็นสินค้าที่มากเกินความต้องการ เกิดจากการผลิตที่ต้องใช้ต้นทุนสูงแต่ขายไม่ได้ราคา ภาวะขาดทุนเป็นหนี้เป็นสิน ก่อให้เกิดความเครียด นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิต อีกด้านหนึ่งการผลิตเพื่อขายนำไปสู่การใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีสะสมในผักเมื่อกินผักที่มีสารเคมีก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในส่วนของอาหาร อาหารสดประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผักหรือเนื้อสัตว์จะใช้สารเคมีจำพวกฟอร์มารีน แช่ผักและปลาให้ดูสดอยู่ตลอดเวลา เนื้อหมูและไก่มีสารเร่งเนื้อแดงและสารที่เป็นฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโตของไก่ ในอาหารสำเร็จรูปมีสารกันบูดและผงชูรสจำนวนมาก สารจำพวกนี้เมื่อรับประทานเข้าไป จะไปสะสมในร่างกายของคนและนำไปสู่การเป็นมะเร็งในที่สุด
ดังนั้นวิถีเกษตรในระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่พระเจ้าอยู่หัวดำรัสไว้ เป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ไม่พึ่งเทคโนโลยี เช่นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ทำให้กินอาหารที่ปลอดสารพิษนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี เกิดชีวิตที่พอเพียง สิ่งแวดล้อมที่พอเพียง สุขภาพที่พอเพียง ความเป็นอยู่ที่สมดุลเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืนที่ไม่ใช่หมายถึงแค่การเพราะปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์เท่านั้น แต่หมายถึงวิถีทางแห่การฝึกฝนตัวตนสู่การบ่มเพราะคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยความรักความเอื้ออาทรต่อบุคคล สังคมและชุมชน
วิถีชีวิตที่มีหลากหลายคู่และขาดการมีผัวเดียวเมียเดียว การพัฒนาที่นำไปสู่ภาวะทันสมัยโดยทำให้คนมีความพรั่งพร้อมทางด้านวัตถุ คนรุ่นใหม่ไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมเดิม ทำให้สูญเสียวัฒนธรรมทางค่านิยม วิถีชีวิตที่ดีงามของชุมชนไป เช่น การรักนวลสงวนตัวขาดหายไป นำไปสู่การสำส่อนทางเพศเปลี่ยนคู่นอนกันบ่อย แต่ภาวะทันสมัยไม่ได้ทำให้คนในสังคมมีชีวิตที่มีความสุขและเกิดการแสวงทางออกใหม่ๆ ทำให้เกิดการแสวงหาการบริโภคสิ่งแปลกๆใหม่ๆประสบการณ์แปลกใหม่ทางเพศ ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมการสำส่อนทางเพศ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ไม่มีความรู้สึกผูกพันกันและเป็นช่องทางนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคเอดส์และฆ่าตัวตาย
วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ในกระแสโลกาภิวัตน์สร้างให้เกิดค่านิยมทางสังคมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น คนที่สวยต้องผมยาว ขาว สูง หุ่นดี ดังนั้นผลิตภัณฑ์ผิวขาวศัลยกรรมตกแต่ง ศูนย์เสริมความงาม เสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนมีลักษณะลอกเลียนแบบกัน เพราะเชื่อว่าจะสวยดูดีเช่น เสื้อเล็กแคบรัดแน่น กระโปรงสั้น หิ้วกระเป๋าใบเล็ก พกโทรศัพท์มือถือ (ธวัชชัย เพ็งพินิจ,2548) ที่ทำให้คนหันเหการบริโภคจากสินค้าจำเป็นสู่สินค้าฟุ่มเฟือย และการบริการมากขึ้น(ผาสุก พงษ์ไพจิตร ,2540) สังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มนิยมความฟุ้งเฟ้อโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งนิยมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยการใช้สินค้าที่มีราคาสูงโดยเฉพาะสินค้าจากต่างประเทศการมีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่เหมาะสมกับวัยและฐานะ เช่นโทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เป็นต้น ค่านิยมที่ไม่ถูกต้องทำให้คนกลุ่มนี้อยากได้ต้องหามาให้ได้ อยากมีต้องมีให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการอย่างไร วัยรุ่นบางคนสร้างปัญหาสังคม เช่น ขายบริการทางเพศ หรือก่ออาชญากรรม เนื่องจากต้องการมีทุกอย่างทัดเทียมเพื่อน ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานบางคนแม้สามารถหารายได้แล้ว ก็ไม่รู้จักวิธีใช้จ่ายเงิน โดยเฉพาะวัยรุ่น วิเชียร เมฆตระการ (2549) พบว่าวัยรุ่นไทยพกซิมมือถือกว่า 30 เบอร์ เป็นแฟชั่น โชว์ความเจ๋ง ซึ่งแสดงถึงความไม่ประหยัดของเด็กไทย
อีกด้านหนึ่งลักษณะนิสัยคนเปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น คนมีความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ สูงมาก รายจ่ายในชีวิตประจำวันจึงสูงเป็นเงาตามตัว รายจ่ายเพื่อความบันเทิง สุขภาพที่เกินความจำเป็น ท่องเที่ยว รายจ่ายเพื่อสังคม และต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งทำให้มีความต้องใช้เงินมากขึ้นกว่าคนสมัยก่อน ซึ่งมักจะทำงานอยู่กับบ้าน มีนิสัยการกินอยู่อย่างประหยัด มักไม่ค่อยมีเรื่องให้ต้องใช้เงินมากมายนัก มีเงินเก็บออมไว้ได้สภาพสังคมอย่างในอดีตเช่นนี้พอจะยังพบเห็นได้ในท้องถิ่นชนบทที่ยังห่างไกลความเจริญในแบบสังคมเมืองคนสมัยใหม่จึงมีความจำเป็นต้องวางแผนชีวิตแบบพอเพียง
การกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะเชื่อมโยงให้เห็นว่ากระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อวิถีชีวิตการดำเนินในด้านต่างๆ และนำไปสู่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วยดังนั้นการหันมามองวิถีชีวิตที่พอเพียง น่าจะเป็นช่องทางที่มุ่งหวังให้ประชาชนคนไทยมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีค่านิยม ความรู้ และเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี นำไปสู่ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งทางกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ ควรมาสนับสนุนปลูกสร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตพอเพียงที่รู้จักพอ ในขณะเดียวกันต้องขจัดวิถีชีวิตที่ไม่รู้จักพอที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพให้เลือนหายไปจากสังคมไทย ดังนั้น “ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผน และดำเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา:4 ธันวาคม 2546) ความพอเพียง ไม่ใช่แค่ การพึ่งตนเอง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Self-sufficiency แต่คำว่า พอเพียง ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีความหมายกว้างกว่าแค่การพึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งตรงกับคำว่า Sufficiency Economy หมายถึง พอมีพอกิน พอเพียงตามความหมายนี้ อาจจะมีมาก อาจจะดูฟุ่มเฟือย อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีลำดับขั้นของการพัฒนาและปฏิบัติ ที่เริ่มต้นจาก หลักของการพึ่งตนเอง เปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอย อาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา (Dependent) เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความ เข้มแข็ง เป็นอิสระ (Independent) แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการ แลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จนนำไปสู่การพึ่งพิงอิงกัน (Interdependent) สงเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน และประสานกับโลกภายนอก วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่มุ่ง สร้างความเจริญในทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยขาดพื้นฐานที่มั่นคง (อานันท์ ปันยารชุน ,2549) ซึ่งถ้าประกอบกับหลักการสอนของพระพุทธศาสนา ที่ให้ใช้การดำเนินวิถีชีวิต ที่ให้พึ่งตนเองด้วยการประกอบอาชีพที่สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ คบเพื่อนที่ดี และเลี้ยงชีวิตที่เหมาะพอดี โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ในด้านการอยู่ร่วมกันให้ความช่วยเหลือกันนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้คนร่ำรวยช่วยเหลือคนยากจน ให้มีความเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบคนจน ซึ่งช่วยธำรงสังคมให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้มาก “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” เป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญในการทำความดีมากกว่าสิ่งอื่นใด โดยใช้หลักธรรมในการข่มจิต บังคับกายของตน ให้มีสติในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและความเหมาะสม เราควรนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคำสอนของศาสนาที่มีมาตั้งแต่ดั่งเดิมจะทำให้เรามีวิถีชีวิตที่มีความสุขทั้งกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ กล่าวโดยสรุป การพัฒนาที่ผิดพลาดที่เน้นความมั่งคั่ง ในที่สุดตกเป็นเหยื่อของโลกาภิวัตน์ ในขณะเดียวกันสังคมไทยยังไม่สามารถนำเอาวัฒนธรรมของประเทศอุตสาหกรรม ที่อาศัยความรู้ ความคิดความเข้าใจ ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานมาเป็นเครื่องนำทาง ประกอบกับความอ่อนแอของระบบต่างๆจึงทำให้เราไม่สามารถรับมือกับแรงกดดันของกระแสโลกาภิวัตน์ได้ ความมั่งคั่งเป็นระบบการผลิตและบริโภคที่มีนัยว่าฟุ่มเฟือยไร้ขีดจำกัด ไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลืองของทรัพยากร นำไปสู่ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงนำมาสู่ปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพ หากเปลี่ยนกระบวนการคิดที่เน้นความมั่งคั่งมาเป็นการมีวิถีชีวิตที่พอดี เป็นการอยู่กินอย่างพอดี มีการผลิตและบริโภคที่ไม่ฟุ่มเฟือยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์กับความสามารถรองรับของฐานทรัพยากร ที่นำไปสู่ความยั่งยืนทั้งของทรัพยากรและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความพอเพียง คือพอดีพอประมาณ มีเหตุมีผล มีความอิสระและพึ่งตนเองได้ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อการมีวิถีชีวิตที่ดีเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อภาวะสุขภาพ รากฐานความพอเพียงนั้นสามารถโยงไปสู่วิถีชีวิตแนวพุทธได้และเป็นแนวทางที่คล้ายคลึงกันที่อาจจะทำให้มีวิถีชีวิตและสุขภาพที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป

date วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


ที่มาแห่งพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น ต.กุดสินคุ้มใหญ่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ได้ทรงเห็นสภาพความยากลำบากของราษฎรในการทำการเกษตรในพื้นที่อาศัยน้ำฝน (ปลูกข้าวได้ประมาณ 1 ถัง / 1 ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศ และฝนทิ้งช่วง ซึ่งสภาพดังกล่าวคงเป็นสภาพปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ แม้ว่าจะมีการขุดบ่อน้ำไว้บ้างก็มีขนาดไม่แน่นอน น้ำใช้ยังไม่พอเพียง รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงศึกษา รวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
เหตุที่เรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
- มีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรรายย่อยเนื้อที่ที่ถือครองขนาดเล็ก ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
- มีการคำนวณปริมาณน้ำกักเก็บให้เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปีโดยหลักวิชาการ
- มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ ให้แบ่งพื้นที่ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 10 - 15 ไร่ ต่อครอบครัว และแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) แหล่งน้ำ (2) นาข้าว (3) พืชผสมผสาน (4) ที่อยู่ โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วนร้อยละ 30:30:30:10 ตามลำดับ โดยมี 3 ชั้น ๆ ละ อัตราร้อยละ 30 ดังนี้
ส่วนแรก ร้อยละ 30 ให้ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้เพาะปลูกและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูได้ด้วย
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าวคนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3 - 4 คน ดังนั้น ควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม่สร้างบ้าน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและใช้สอยอย่างพอเพียง หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ เช่น ถนน คันดิน ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวนครัว เป็นต้น
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
หลักการที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นทฤษฎีขั้นที่หนึ่งเท่านั้น เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบทั้งหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกแล้ว และเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินการในด้าน
การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดินการหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร การกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริหารที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าส่วนราชการองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ ได้ดังนี้
- ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"
- ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
- ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
- ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถจะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

date




ความเป็นมา ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
4. หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ว่า “...ถามชาวบ้านที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ ่เขาทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรู ในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว ข้าวเท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งมากขอให้ได้มีน้ำค้างก็พอ แม้จะเป็น ข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่าเราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้นโครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็กๆก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง...” จากพระราชดำรัสข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการที่ทรงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริงแล้วทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิดทฤษฏีว่า “...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือเก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่หมายความว่า น้ำ 30 % ที่ทำนา 60 % ก็เชื่อว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละ ประมาณ 1-2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 -20 ถังหรือมากกว่า ” ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่ กำหนดขึ้นดังนี้ ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ ต่อครอบครัวแบ่งออกเป็นสัดส่วน คือ ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถน้น้ำนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีทางหนึ่งด้วยดังพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่วัดชัยมงคลพัฒนาอังเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 ความตอนหนึ่งว่า“...การเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ถ้าเลี้ยงปลาไม่กี่เดือนก็มีรายได้...” ส่วนที่สอง : ร้อยะ 60 เป็นเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 10ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่างๆโดยบี่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้รที่และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือมีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลออดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ ตามสัดส่วน 30 – 30 – 30 – 30 – 10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ
1. วิธีนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เกป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็กๆ ประมาณ 15 ไร่(ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย)
2. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อนโดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น
3. กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้
ทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริได้นั้น ทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรการด้วยว่าในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ300 วันนั้นระดับน้ำในสระลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอเนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตรเท่านั้น ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะคอยเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้นสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง ราษฎรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้วก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มาพอตลอดปี ทรงเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้มาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “...ให้ค่อยๆทำเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วทีหลังในเขตนอกเหนือจาก 3,000 ไร่ เมื่อมาเห็นว่าทำได้ก็เชื่อแล้วนำไปทำบ้างแต่ต้องไม่ทำเร็วนัก บริเวณนี้ก็จะสนับสนุนได้ 3,000 ไร่ ช่วงเขาบอกได้ 700 ไร่ แต่ทฤษฎีของเราได้ 3,000 ไร่...”

date



ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ
"ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง"
ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
"ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ"
ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
"ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น"
มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม

date


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: คุณธรรมพื้นฐาน
ธรรมสากล1. การยึดถือความจริงความสัตย์2. การให้คุณค่าองความเป็นมนุษย์3. การให้ความรักความเมตตาแก่กัน
คุณธรรม: หลักความดี-ความงาม-ความจริงที่ใจยึดถือศีลธรรม: หลักคิดละข้อปฏิบัติทางศาสนาจริยธราม: ข้อพึงปฏิบัติ (จริยธรรมทั่วไป, จริยธรรมวิชาชีพ)
กฎธรรมชาติ:1. กฎไตรลักษณ์ (กฎของการเปลี่ยนแปลง) - ความไม่เที่ยง (อนิจจัง)- ความทุกข์ (ทุกขัง)- ความมิใช่ตัวตน (อนัตตา)2. กฎของความเป็นเหตุปัจจัย (ปฏิจสมุปบาท)เหตุปัจจัย ? ผลซึ่งเป็นเหตุปัจจัยขั้นต่อไป ??ผลขั้นต่อไป3. กฎของควาเป็นเหตุผล อริยสัจ 4- ทุกข์ (ปัญหา)- สมุทัย (เหตุปัจจัยของปัญหา)- นิโรธ (เป้าหมายการแก้ปัญหา)- มรรค (วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น)4. กฎแห่งกรรม- การกะทำทางกาย-วาจา-ใจ ย่อมให้ผลของมัน- ผู้ปฏิบัติยอมรับผลของกาปฏิบัติ
ความสุข1. สามิสสุข ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาตอบสนองความต้องการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงแสวงหาไม่รู้จบ หวงหึง ผูกพัน กลัวสูญหาย-สูญเสีย2. นิรามิสสุข ความสุขภายใน เกิดจากใจที่สงบ สะอด สว่าง เกิดความพอเพียง-ไม่ดิ้นรนความพอ: สันโดษหลัก: จะทำอะไร ให้ทำด้วยอิทธิบาทธรรม คือทำอย่างเต็มที่ และเมื่อได้ผลออกมาอย่างไรจากการกระทำครั้งนั้นก็ให้เกิดความสุข-ความพอ (ถ้าไม่ได้ผลตามต้องการให้ปรับปรุงใหม่คราวหน้า)ความสุข-ความพอ- พอใจในสิ่งที่ได้- พอใจในสิ่งที่มี- พอใจในสิ่งที่เป็นความสุขในความพอ- ตามควรแก่ความสามารถ- ตามควรแก่การกระทำ- ตามควรแก่ฐานะ- ตามควรแก่กฎเกณฑ์สังคม (จริยธรรม) กฎเกณฑ์ศีลธรรม และกฎเกณฑ์ของกฎหมาย
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

date วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง
คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายสรุปได้ 5 ประการ ดังนี้
1. ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนผู้อื่น 2. ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 4. การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต 5. การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

date วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553